ที่หัวเมืองใหญ่ไม่ว่าเชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี หาดใหญ่ ฯลฯ เราจะเห็นภาพหนุ่ม-สาวกลุ่มใหญ่ ที่ใช้มอเตอร์ไซค์เดินทางต่างเท้า สิ่งที่เจนตาแน่ชัดว่าที่ทางดังกล่าวคือศูนย์การศึกษาของภูมิภาค สะท้อนผ่านรูปลักษณ์ กิริยาท่าทางของ พวกเขา-เธอ เหล่านั้นแตกต่างจากนักเรียนนักศึกษาทั่วไป แต่ยืนยันความเป็นชาวมหาวิทยาลัย ยืนยันด้วยอาภรณ์คลุมกายสีเข้ม ปักลวดลายแตกต่างกันไป
ใช่! เขา- เธอ สวมเสื้อแจ็คเก็ต ต่างเครื่องแบบ นอกเหนือจาก เข็มกลัด กระดุมปุ่มเน็คไท ราวกับว่าเป็นเครื่องแบบปกติของสถาบันการศึกษาไปแล้ว
เสื้อแจ็คเก็ต เริ่มนิยมในหมู่นักศึกษาไทยตั้งแต่เมื่อใด เหตุใดจึงเป็นที่นิยมเป็นคำถามหลักๆที่ผมสนใจใคร่รู้ โดยส่วนตัว ผมไม่มั่นใจนักว่าประเพณีการสวมเสื้อแจ็คเก็ตของชาวมหาวิทยาลัยเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด หากจะคาดคะเน(ซึ่งอาจจะไม่จริง) จากการคลุกคลีทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ก็พอประมาณได้ว่าน่าเริ่มใช้มาไม่ต่ำกว่า 10- 15 ปี หรือมากกว่านั้นเพราะช่วงที่ผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เสื้อแจ็คเก็ตเริ่มเป็นที่แพร่หลายแล้ว
พอจะจำได้เลาๆ ว่าในยุคนั้น มหาวิทยาลัยในส่วนของภูมิภาคอื่นๆยังไม่มีการสวมใส่แจ็คเก็ตกันอย่างกว้างขวางนัก อย่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แม้จะตั้งอยู่ในภูมิอากาศที่หนาวเย็นแต่ผมก็ไม่เห็นใครจะนิยมในการใส่เสื้อแจ็คเก็ตสังกัดคณะแต่อย่างใดยังคงใส่เสื้อกันหนาวหรือสเว็ตเตอร์แบบที่เป็นสีสันเสียมากกว่าแต่กลับแพร่หลายอย่างยิ่ง ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ทั้งสองวิทยาเขต ซึ่งน่าจะเป็นผู้นำแฟชั่นนี้มาให้เกิดความแพร่หลายในหมู่ชาวมหาวิทยาลัยซึ่งมีกันทุกคณะเสียด้วย
ผมจึงมีข้อสังเกตต่อกรณีศึกษานี้อยู่ประมาณ 2-3 ประการประการแรก เสื้อแจ็คเก็ตทำหน้าที่ในเชิงคุณค่าของตัวมันเองคือให้ความอบอุ่นกับผู้ที่สวมใส่ รวมไปถึงกันแดดกันลมยามที่เดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์ในเวลากลางวัน ยามที่แดดร้อนประการต่อมา เสื้อแจ็คเก็ตได้ทำหน้าที่นอกเหนือ “อัตถประโยชน์” ที่มันเป็นแต่ทำหน้าที่ในเชิง” “สัญลักษณ์” มากกว่า ผมสังเกตเห็นว่าในสังคมมหาวิทยาลัย ที่จัดการศึกษาแบบ “สหวิทยาการ” อย่าง มอ. นั้น นักศึกษาแต่ละคณะล้วนแสดง “อัตลักษณ์” ของตนออกมา ผ่านทาง 'ภาพลักษณ์' (Image) สู่สังคมภายนอกให้เป็นที่ยอมรับผมคาดคะเนเอาว่า กลุ่มแรกๆ ที่สร้างความแตกต่างให้เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ กลุ่มของคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ที่มีเครื่องแต่งกายชัดเจนนักศึกษาแพทย์สวมเสื้อกาวด์เมื่อลงแล็ป ซึ่งก็ดูดีสมกับบุคลิกและน้อยครั้งที่จะใส่ออกมาเดินเฉิดฉายในที่สาธารณะผิดกับนักศึกษาวิศวะ ซึ่งมักจะสวมเสื้อเชิ้ตสีกรมท่าสำหรับฝึกปฏิบัติ จนกลายเป็นเครื่องแบบปกติ การรวมตัวที่เป็นกลุ่มก้อนมากกว่านักศึกษาคณะอื่นๆ กอรปกับการเป็นนักศึกษาระดับหัวกะทิของมหาวิทยาลัยจึงได้รับการยอมรับจากสังคมภายนอกค่อนข้างมาก
รูปเฟืองเกียร์สัญลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องยอมรับกันว่า แม้จะกินไม่ได้แต่ใครมีแปะไว้ที่หน้าอกหรือกลางหลัง มันก็เท่ห์!! เท่ห์ทั้งตัว ทั้งหัวสมองว่างั้น!!
หลายๆ คณะก็อยากจะเลียนแบบและมีสัญลักษณ์อย่างนั้นบ้างซึ่งก็ทำให้เกิดมูลเหตุในประการต่อมาและตอกย้ำว่ามันได้ฉายภาพของการทำหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ของ “อำนาจ” ให้ชัดเจนขึ้น
เราต้องไม่ลืมว่า ก่อนการพังทลายของเศรษฐกิจฟองสบู่ ในปี 2540 คณะยอดนิยมของมหาวิทยาลัยในภาคใต้นั้น ต้องยกให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์แพทยศาสตร์และวิทยาการจัดการซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากรเพื่อออกมารองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะหัวกะทิอย่างพวกเขาจึงถูกกรองแล้วกรองอีก เพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งการที่พวกเขาเหล่านั้นได้ศึกษาในคณะดังกล่าวย่อมหมายถึงการประกันความมั่งมีศรีสุขของชีวิตพวกเขาในอนาคตด้วยสปอตไลท์ทุกดวง จึงฉายฉานมายังพวกเขาให้โดดเด่นและถูกยอมรับอย่างสูงในสังคมปฏิเสธได้ยากยิ่งว่าพวกเขาคือ อภิสิทธิ์ชนน้อยๆ ในสังคมนี้ และไม่มีอะไรจะชี้บ่งอภิสิทธิ์ นั้นได้ดีเท่ากับอาภรณ์ที่พวกเขาสวมใส่ที่สื่อให้ผู้พบเห็นผ่านสัญลักษณ์ ฟันเฟืองขบกัน เรือสำเภาลำโตโต้คลื่นหรือสิงห์ผยองรองรับด้วยชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาฝรั่ง บนแผ่นหลังของพวกเขาเมื่อเสิ้อแจ็คเก็ต ได้ทำหน้าที่เกินอัตถประโยชน์และกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและอภิสิทธิ์ชนไปแล้ว
ไม่แปลกแต่อย่างใดที่แฟชั่นนี้จะกระจายไปสู่นักเรียน นักศึกษากลุ่มอื่นๆด้วยการที่นักศึกษาอาชีวะบางกลุ่มจะขอเอาอย่างบ้างอาจเพราะพวกเขาเหล่านั้นถูกสังคมกดทับและดูแคลนอยู่ลึกๆ ตลอดเวลาทำไมพวกเขาจะแสดงตัวตนผ่านสัญลักษณ์อื่นๆบ้างไม่ได้ (ซึ่งเราอาจจะชินแต่ภาพของนักเรียนตีกัน) เพื่อลบภาพเดิมๆ ที่เราชินตา
ภาพของการต่อรองของ “ชนชั้น” ผ่านเสื้อแจ็กเก็ตทำให้เราเห็นว่าในสังคมไทยช่างมีช่องว่างระหว่างชนชั้นที่ถูกแบ่งแยกอยู่มากมายเหลือเกิน (ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น) โดยแทบที่เราไม่ได้รู้สึก “เสื้อแจ็กเก็ต” จึงมิได้เป็นแค่เสื้อ แต่กลับผูกโยงกับอำนาจอย่างลึกซึ้งซึ่งผู้สวมใส่ก็รับรู้ได้ดีถึงอำนาจนั้นและได้ใช้มันมากกว่าเพื่อบังแดด บังลมหรือทำให้ร่างกายอบอุ่น
ภาพของนักศึกษาหนุ่มเดินประกบนักศึกษาสาวคณะวิทยาการจัดการหรือคณะพยาบาลในเสื้อแจ็คเก็ตตัวโคร่งปักรูปเกียร์เต็มแผ่นหลัง ที่กรีดกรายอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้นคงยืนยันอำนาจของมันได้ระดับหนึ่ง
ใช่! เขา- เธอ สวมเสื้อแจ็คเก็ต ต่างเครื่องแบบ นอกเหนือจาก เข็มกลัด กระดุมปุ่มเน็คไท ราวกับว่าเป็นเครื่องแบบปกติของสถาบันการศึกษาไปแล้ว

พอจะจำได้เลาๆ ว่าในยุคนั้น มหาวิทยาลัยในส่วนของภูมิภาคอื่นๆยังไม่มีการสวมใส่แจ็คเก็ตกันอย่างกว้างขวางนัก อย่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แม้จะตั้งอยู่ในภูมิอากาศที่หนาวเย็นแต่ผมก็ไม่เห็นใครจะนิยมในการใส่เสื้อแจ็คเก็ตสังกัดคณะแต่อย่างใดยังคงใส่เสื้อกันหนาวหรือสเว็ตเตอร์แบบที่เป็นสีสันเสียมากกว่าแต่กลับแพร่หลายอย่างยิ่ง ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ทั้งสองวิทยาเขต ซึ่งน่าจะเป็นผู้นำแฟชั่นนี้มาให้เกิดความแพร่หลายในหมู่ชาวมหาวิทยาลัยซึ่งมีกันทุกคณะเสียด้วย
ผมจึงมีข้อสังเกตต่อกรณีศึกษานี้อยู่ประมาณ 2-3 ประการประการแรก เสื้อแจ็คเก็ตทำหน้าที่ในเชิงคุณค่าของตัวมันเองคือให้ความอบอุ่นกับผู้ที่สวมใส่ รวมไปถึงกันแดดกันลมยามที่เดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์ในเวลากลางวัน ยามที่แดดร้อนประการต่อมา เสื้อแจ็คเก็ตได้ทำหน้าที่นอกเหนือ “อัตถประโยชน์” ที่มันเป็นแต่ทำหน้าที่ในเชิง” “สัญลักษณ์” มากกว่า ผมสังเกตเห็นว่าในสังคมมหาวิทยาลัย ที่จัดการศึกษาแบบ “สหวิทยาการ” อย่าง มอ. นั้น นักศึกษาแต่ละคณะล้วนแสดง “อัตลักษณ์” ของตนออกมา ผ่านทาง 'ภาพลักษณ์' (Image) สู่สังคมภายนอกให้เป็นที่ยอมรับผมคาดคะเนเอาว่า กลุ่มแรกๆ ที่สร้างความแตกต่างให้เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ กลุ่มของคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ที่มีเครื่องแต่งกายชัดเจนนักศึกษาแพทย์สวมเสื้อกาวด์เมื่อลงแล็ป ซึ่งก็ดูดีสมกับบุคลิกและน้อยครั้งที่จะใส่ออกมาเดินเฉิดฉายในที่สาธารณะผิดกับนักศึกษาวิศวะ ซึ่งมักจะสวมเสื้อเชิ้ตสีกรมท่าสำหรับฝึกปฏิบัติ จนกลายเป็นเครื่องแบบปกติ การรวมตัวที่เป็นกลุ่มก้อนมากกว่านักศึกษาคณะอื่นๆ กอรปกับการเป็นนักศึกษาระดับหัวกะทิของมหาวิทยาลัยจึงได้รับการยอมรับจากสังคมภายนอกค่อนข้างมาก
รูปเฟืองเกียร์สัญลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องยอมรับกันว่า แม้จะกินไม่ได้แต่ใครมีแปะไว้ที่หน้าอกหรือกลางหลัง มันก็เท่ห์!! เท่ห์ทั้งตัว ทั้งหัวสมองว่างั้น!!
หลายๆ คณะก็อยากจะเลียนแบบและมีสัญลักษณ์อย่างนั้นบ้างซึ่งก็ทำให้เกิดมูลเหตุในประการต่อมาและตอกย้ำว่ามันได้ฉายภาพของการทำหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ของ “อำนาจ” ให้ชัดเจนขึ้น
เราต้องไม่ลืมว่า ก่อนการพังทลายของเศรษฐกิจฟองสบู่ ในปี 2540 คณะยอดนิยมของมหาวิทยาลัยในภาคใต้นั้น ต้องยกให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์แพทยศาสตร์และวิทยาการจัดการซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากรเพื่อออกมารองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะหัวกะทิอย่างพวกเขาจึงถูกกรองแล้วกรองอีก เพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งการที่พวกเขาเหล่านั้นได้ศึกษาในคณะดังกล่าวย่อมหมายถึงการประกันความมั่งมีศรีสุขของชีวิตพวกเขาในอนาคตด้วยสปอตไลท์ทุกดวง จึงฉายฉานมายังพวกเขาให้โดดเด่นและถูกยอมรับอย่างสูงในสังคมปฏิเสธได้ยากยิ่งว่าพวกเขาคือ อภิสิทธิ์ชนน้อยๆ ในสังคมนี้ และไม่มีอะไรจะชี้บ่งอภิสิทธิ์ นั้นได้ดีเท่ากับอาภรณ์ที่พวกเขาสวมใส่ที่สื่อให้ผู้พบเห็นผ่านสัญลักษณ์ ฟันเฟืองขบกัน เรือสำเภาลำโตโต้คลื่นหรือสิงห์ผยองรองรับด้วยชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาฝรั่ง บนแผ่นหลังของพวกเขาเมื่อเสิ้อแจ็คเก็ต ได้ทำหน้าที่เกินอัตถประโยชน์และกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและอภิสิทธิ์ชนไปแล้ว
ไม่แปลกแต่อย่างใดที่แฟชั่นนี้จะกระจายไปสู่นักเรียน นักศึกษากลุ่มอื่นๆด้วยการที่นักศึกษาอาชีวะบางกลุ่มจะขอเอาอย่างบ้างอาจเพราะพวกเขาเหล่านั้นถูกสังคมกดทับและดูแคลนอยู่ลึกๆ ตลอดเวลาทำไมพวกเขาจะแสดงตัวตนผ่านสัญลักษณ์อื่นๆบ้างไม่ได้ (ซึ่งเราอาจจะชินแต่ภาพของนักเรียนตีกัน) เพื่อลบภาพเดิมๆ ที่เราชินตา
ภาพของการต่อรองของ “ชนชั้น” ผ่านเสื้อแจ็กเก็ตทำให้เราเห็นว่าในสังคมไทยช่างมีช่องว่างระหว่างชนชั้นที่ถูกแบ่งแยกอยู่มากมายเหลือเกิน (ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น) โดยแทบที่เราไม่ได้รู้สึก “เสื้อแจ็กเก็ต” จึงมิได้เป็นแค่เสื้อ แต่กลับผูกโยงกับอำนาจอย่างลึกซึ้งซึ่งผู้สวมใส่ก็รับรู้ได้ดีถึงอำนาจนั้นและได้ใช้มันมากกว่าเพื่อบังแดด บังลมหรือทำให้ร่างกายอบอุ่น
ภาพของนักศึกษาหนุ่มเดินประกบนักศึกษาสาวคณะวิทยาการจัดการหรือคณะพยาบาลในเสื้อแจ็คเก็ตตัวโคร่งปักรูปเกียร์เต็มแผ่นหลัง ที่กรีดกรายอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้นคงยืนยันอำนาจของมันได้ระดับหนึ่ง
**************
:ตีพิมพ์ครั้งแรก 20 มีนาคม 2547 ในนิตยสารโฟกัสภาคใต้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น